แมนเชสเตอร์ ซิตี้

พรีเมียร์ลีก ประกาศตั้งข้อหาละเมิดกฏการใช้จ่าย แมนฯ ซิตี้

งานเข้าแบบเต็มๆสำหรับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เมื่อ พรีเมียร์ลีก ประกาศตั้งข้อหาละเมิดกฏการใช้จ่าย (Financial Fairplay) และอาจทำให้พวกเขาได้รับโทษหากถูกตัดสินว่ากระทำผิดจริง

ซึ่งทาง พรีเมียร์ลีก ได้แถลงว่าหลังจากมีการสอบสวนมาเป็นระยะเวลานาน พวกเขาก็พบว่าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ทำผิดกฏการใช้จ่ายระหว่างปี 2009-2018 ซึ่งเข้าข่ายว่าเป็นการใช้เงินที่ไม่ชอบธรรม

ต่อกรณีดังกล่าว หากสุดท้ายแล้วคณะกรรมการอิสระตัดสินออกมาว่า เรือใบสีฟ้า ทำผิดจริงตามที่ พรีเมียร์ลีก ระบุ พวกเขาก็มีสิทธิ์ได้รับโทษไม่ว่าจะหนักหรือเบาตามแต่ที่จะมีการพิจารณา

สำหรับบทลงโทษทั้งห้าข้อที่ แมนฯ ซิตี้ อาจเผชิญตามที่สื่ออังกฤษระบุมีดังนี้

1. ห้ามแข่งขัน

ตามกฏข้อที่ W51 ของ พรีเมียร์ลีก แมนฯ ซิตี้ อาจได้รับโทษในขั้นต้นด้วยการห้ามลงแข่งขัน แต่ถึงอย่างนั้นในทางปฏิบัติมันยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่แน่นอนว่ามันเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เปิดกว้างให้กับผู้ถือกฏ

“คณะกรรมการอาจสั่งแบนทีมนั้นๆลงแข่งขันในเกมลีกหรือรายการอื่นๆได้ และเป็นไปในระยะเวลาที่พวกเขาคิดว่าเหมาะสม” กฏกติกาข้อดังกล่าวบัญญัติเอาไว้

2. หักแต้ม

น่าจะเป็นอ็อปชั่นที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดหาก แมนฯ ซิตี้ จะถูกลงโทษด้วยการหักแต้มเช่นเดียวกับ ยูเวนตุส ที่เมื่อไม่นานมานี้ได้รับโทษเป็นการหักแต้ม 15 แต้มหลังมีการสอบสวนพบว่าพวกเขาก่อความผิดในอดีตกับการซื้อขายนักเตะ

แม้ว่าจำนวนแต้มที่จะถูกหักอาจยังไม่มีใครรู้ได้ แต่ไม่ว่า เรือใบสีฟ้า จะถูกหักกี่แต้มก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะส่งผลกระทบต่ออันดับตารางใน พรีเมียร์ลีก ของพวกเขา

เพราะถึงขณะนี้ ทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า รั้งตำแหน่งรองจ่าฝูงโดยมีแต้มตามหลัง อาร์เซน่อล ทีมจ่าฝูงห้าแต้ม และหากมีการหักแต้ม 15 แต้ม พวกเขาก็จะหล่นไปอยู่อันดับเก้าของตาราง แต่หากมีการพิจารณาหักแต้มมากกว่านี้ แมนฯ ซิตี้ ก็อาจหล่นไปอยู่ในโซนตกชั้นได้เลย

มองดูแล้ว การหักแต้มน่าจะเป็นบทลงโทษที่มีน้ำหนักมากที่สุด แต่ก็เชื่อว่า เรือใบสีฟ้า จะอาศัยช่องทางของกฏหมายท้าทายบทลงโทษจากคณะกรรมการเช่นกัน

แมนเชสเตอร์ ซิตี้

3. ขับออกจากลีก

เข้าข่ายดราม่าแน่หาก แมนฯ ซิตี้ จะโดนลงโทษสถานหนักด้วยการถูกขับออกจาก พรีเมียร์ลีก ซึ่งแม้พวกเขาจะมีอำนาจขับทีมให้พ้นจากลีกได้ แต่มันก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง

แต่ถึงกระนั้น หากว่ามันเกิดขึ้นจริงก็ไม่ชัดเจนอยู่ดีว่าแชมป์ พรีเมียร์ลีก จะระเห็จไปอยู่ที่ไหน พวกเขาอาจได้ร่วมฟาดแข้งในฟุตบอลลีกแม้ว่ามันจะก่อให้เกิดความยุ่งยากเนื่องจากจะกระทบต่อโครงสร้างของลีกที่มีจำนวนสโมสรมากมายอยู่แล้ว

หรือไม่เช่นนั้น พวกเขาก็อาจหล่นไปเล่นนอกลีกใน เนชั่นแนล ลีก เหมือนที่ คิวพีอาร์ เคยโดนแจ้งโทษเมื่อปี 2014 หากไม่ยอมจ่ายค่าปรับ 40 ล้านปอนด์เมื่อสมัยเล่นอยู่ใน แชมเปี้ยนชิพ และละเมิดกฏการใช้จ่าย

4. ริบแชมป์

แม้ว่ากฏข้อ W51 จะไม่ได้รวมการริบแชมป์เอาไว้ด้วยสำหรับบทลงโทษ แต่มันยังเปิดช่องให้มีบทลงโทษที่หลากหลายตามมาจากการละเมิดกฏกติกา

ทั้งนี้เพราะกฏข้อ W.51.10 ระบุเอาไว้ว่าคณะกรรมการสามารถ “ลงโทษเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม” ซึ่งรวมทั้งการริบแชมป์จากสโมสรที่ได้แชมป์

เท่าที่ผ่านมาในรอบหนึ่งทศวรรษ แมนฯ ซิตี้ พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นทีมชั้นยอดจากการคว้าแชมป์ลีกได้สามสมัยระหว่างปี 2009-2018 ซึ่งพวกเขาถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฏการใช้เงิน และแน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่พวกเขาจะได้รับบทลงโทษนี้

5. ปรับเงิน

กฏข้อ W.51.9 บอกเอาไว้ว่าคณะกรรมการสามารถ “สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหา จ่ายค่าปรับจำนวนหนึ่งได้หากพวกเขาคิดว่าเหมาะสมซึ่งอาจรวมถึงค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายของสมาชิกคณะกรรมการด้วย”

ฉะนั้นแล้ว แมนฯ ซิตี้ จึงมีโอกาสได้รับโทษเป็นการปรับเงินหากสุดท้ายแล้วมีการพิสูจน์ได้ว่าพวกเขากระทำผิดจริง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ logitan.com

แทงบอล

Releated